เกี่ยวกับสำนักงาน

นโยบาย แผนงาน โครงการ

กรอบยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจในฐานะหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่สําคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างบทบาทการดําเนินงานให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับนโยบาย และสภาพแวดล้อม โดยกําหนดเป้าหมาย คือ “รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดําเนินบทบาทในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ของประเทศในด้านต่างๆ ได้ตามเป้าหมาย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลจากการเชื่อมโยงนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ปี 2560-2564) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) แนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) และแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม (Digital Economy : DE) สามารถกําหนดกรอบยุทธศาสตร์รัฐวิสหากิจ 5 ด้าน ดังนี้

1. กําหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจให้มีความชัดเจน เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศ
2. บริหารแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ
3. เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้สามารถดําเนินการตามบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาภารกิจและการบริหารจัดการ
5. ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลให้มีความโปร่งและมีคุณธรรม

"รัฐวิสาหกิจมีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ โดยสามารถเร่ง การลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และมีความแข็งแกร่งทางการเงินโดยเน้นการนํา นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนางานและเพิ่มประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบธรรมาภิบาล ที่โปร่งใสและมีคุณธรรม และการน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ "

ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ เป้าหมาย และทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ภาพรวม พ.ศ. 2560-2564

จากกรอบยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ 5 ด้านข้างต้น คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้กําหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : กําหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจ ให้ชัดเจน เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ชาติ

เป้าประสงค์
1. รัฐวิสาหกิจทุกแห่งมีบทบาท และทิศทางการดําเนินงานชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
2. รัฐวิสาหกิจดําเนินงานตามบทบาท และทิศทางที่กําหนดได้อย่างครบถ้วน

แนวทางพัฒนา
1. กําหนดบทบาทและทิศทางดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่จะช่วยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้มีความชัดเจน
2. กําหนดบทบาทและทิศทางโดยคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่อาจทําให้ภารกิจและงานของรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนแปลงไป เช่นเทคโนโลยีและโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
3. นําบทบาทและทิศทางการดําเนินงาน ที่ชัดเจนไปดําเนินการให้เป็นไปตาม แผนยุทธศาสตร์ที่กําหนด

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : บริหารแผนการลงทุนสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของประเทศ

เป้าประสงค์
1. ภาครัฐมีแผนการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐวิสาหกิจระยะ 5 ปี
2. โครงการลงทุนมีแหล่งเงินลงทุนที่เหมาะสม ครบถ้วนทุกโครงการ

แนวทางพัฒนา
1. มีการจัดทําแผนการลงทุนที่ชัดเจน สอดคล้องกับบทบาทและทิศทางตามยุทธศาสตร์ โดยนําแนวทางการใช้ทรัพยากรร่วมระหว่าง รัฐวิสาหกิจ (Synergy) มาประกอบการพิจารณา โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจด้วย
2. จัดทําโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 5 ปี โดยคํานึงถึงลำดับความพร้อมและความสําคัญ
3. พิจารณาแหล่งเงินลงทุนโครงการของรัฐวิสาหกิจให้ครบถ้วนและเหมาะสมกับโครงการ
4. สนับสนุนให้มีการระดมทุนจากแหล่งเงินทุนทางเลือก เช่น PPP กองทุนรวมโครงสร้าง พื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว

เป้าประสงค์
1. รัฐวิสาหกิจมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งในระยะกลาง และระยะยาว
2. รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาทางการเงินได้รับการแก้ไขจนแล้วเสร็จ
3. ภาครัฐมีกลไกในการสนับสนุนทางการเงินแก่รัฐวิสาหกิจ ในการดําเนินการตามบทบาท

แนวทางพัฒนา
1. จัดให้มีประมาณการผลประกอบการและฐานะทางการเงินระยะ 5 ปี โดยให้มีการเสนอแนวทางการสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน ให้สามารถดําเนินการตามบทบาทได้ตามเป้าหมาย
2. สร้างความมั่นคงด้านรายได้ ควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์
3. แก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาด้านการเงิน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนต่อเนื่องต้องจัดทํา แผนพลิกฟื้นทางการเงินเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเงิน
4. มีระบบสนับสนุนทางการเงินแก่รัฐวิสาหกิจ เช่น PS0/PSA เป็นต้น เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีความแข็งแกร่งทางการเงินเพียงพอในการให้บริการตามนโยบายรัฐ
5. ต้องมีการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ชัดเจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สนับสนุนการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 และแผน DE

เป้าประสงค์
1. รัฐวิสาหกิจใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการพัฒนางานและการให้บริการ แก่ประชาชน
2. รัฐวิสาหกิจใช้นวัตกรรมในการปรับปรุง กระบวนการทํางานให้มีประสิทธิภาพ
3. รัฐวิสาหกิจมีส่วนร่วมในการส่งเสริม ให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยี ในด้านที่เกี่ยวข้อง

แนวทางพัฒนา
1. ให้รัฐวิสาหกิจจัดทําแผนรองรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลง (Disruptive Technology) รวมถึงการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมาใช้ประโยชน์ในการผลิตและการบริการทั้งในเชิงรุก และเชิงรับ
2. รัฐวิสาหกิจมีการพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมมาช่วยในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการประเมินและรายงานผลตามมาตรฐานสากล
4. ให้รัฐวิสาหกิจมีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยที่เกี่ยวเนื่องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนอื่น ในการพัฒนางานตามบทบาท
5. ให้รัฐวิสาหกิจจัดทําฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และเปิดเผยให้สาธารณะได้ใช้ร่วมกัน (Open Data) สนับสนุนระบบสารสนเทศรวมถึงการวิจัยด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลให้มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม

เป้าประสงค์
1. รัฐวิสาหกิจทุกแห่งมีระบบการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาลเป็นองค์กรคุณธรรม
2. ระบบการกับดูแลรัฐวิสาหกิจมีความชัดเจนสอดคล้องกับรูปแบบและบทบาทของรัฐวิสาหกิจ
3. รัฐวิสาหกิจมีบุคลากรที่มีศักยภาพ

แนวทางพัฒนา
1. รัฐวิสาหกิจทบทวนระบบการบริหารจัดการและโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการองค์กรที่ดีและหลักธรรมาภิบาลสากล
2. รัฐวิสาหกิจกํากับดูแลองค์กรและบุคลากร รวมทั้งบริษัทในเครือให้มีการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร และสามารถอธิบายความจําเป็นในการตัดสินใจได้
3. รัฐวิสาหกิจมีระบบการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง และสารสนเทศสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงที่สําคัญ
4. รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกระบวนการให้บริการ การจัดการข้อร้องเรียนจากผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีช่องทางในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ รวมทั้งนำระบบ ITA มาปรับใช้และมีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอแก่สาธารณะ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะจัดทำฐานข้อมูลกลางของรัฐวิสาหกิจเพื่อกํากับและติดตามการดําเนินการและเผยแพร่แก่สาธารณะ
5. รัฐวิสาหกิจมีการทบทวนปรับปรุงระบบและกระบวนในการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส รัดกุม และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง มีการตรวจสอบติดตามผลและปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจนำระบบที่สนับสนุนความโปร่งใสมาใช้ เช่น Integrity Pact (IP) CoST เป็นต้น
6. รัฐวิสาหกิจมีกระบวนการติดตามประเมินผลการดําเนินงานขององค์กรและกระบวนการบริหารงานบุคคลที่สร้างความผูกพันต่อองค์กรและมีความโปร่งใสและยุติธรรม
7. รัฐวิสาหกิจมีการจัดทำสมรรถนะและความรู้ที่จําเป็น (Skill Matrix) สําหรับคณะกรรมการและผู้บริหารสูงสุดที่สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์
8. รัฐวิสาหกิจมีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในองค์กร รวมทั้งมีกลไกกํากับ ติดตาม และส่งเสริมบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรม
9. รัฐวิสาหกิจสรรหาและพัฒนาบุคลากรในทุกระดับให้มีความรู้และสมรรถนะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการสร้างภาวะผู้นําเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง บริบทสําคัญ (Mega Trend) ของโลก อาทิ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


แนวนโยบายภาพรวมสาขาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (Umbrella Statement)

พิจารณาบทบาทและภารกิจขององค์กรให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อ สนับสนุนยุทธศาสตร์ ของประเทศ เพิ่มศักยภาพในการดําเนิน

เนื่องจากสภาพแวดล้อมของสังคมโลกในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ในหลายๆ ด้าน ทั้งสภาพ เศรษฐกิจและสภาพสังคม ตลอดจนการปรับเปลี่ยนการดําเนินธุรกิจของภาคเอกชนที่เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางสภาวะ การแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบกับการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนสําคัญในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ให้บริการซึ่งรวมถึงกระบวนการด้านการผลิตสินค้าและบริการ ดังนั้น จึงมุ่งเน้นให้รัฐวิสาหกิจในสาขาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม พิจารณาถึงการทบทวนบทบาทและภารกิจขององค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และบริบทของประเทศในปัจจุบัน โดยเหตุผลและความจําเป็นในการคงบทบาทเดิมหรือปรับเปลี่ยนบทบาทของรัฐวิสาหกิจ จะต้องคํานึงถึงการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์โดยรวมของประเทศ ซึ่งควรมีการดําเนินการหารือและวิเคราะห์ บทบาทและภารกิจร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเจ้าสังกัด สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น รวมถึงการเพิ่มศักยภาพในการดําเนินธุรกิจ โดยนําระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อสนับสนุนการให้บริการต่างๆ มีการบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งบริหารจัดการต้นทุนเพื่อสร้างรายได้และเพิ่มกําไรจากการดําเนินงาน และพัฒนาด้านการลงทุนด้วยการจัดลําดับความสําคัญ การวิเคราะห์โครงการลงทุน พร้อมทั้งจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มอุตสาหกรรมของตนเอง ทั้งนี้ ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการผูกขาดโดยนโยบายของภาครัฐก็จะต้องพัฒนาศักยภาพในการดําเนินธุรกิจเช่นเดียวกัน เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกับคู่เทียบทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจจะต้องปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้มีความทันสมัย โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล

ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์รัฐวิสหากิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : กําหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจนเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์

1. ทบทวนบทบาทที่เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ
2. แยกบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนในการเป็น Regulator และ Operator โดยปรับบทบาทให้รัฐวิสหากิจเป็น Operator อย่างเดียว

แนวทางการดําเนินการตามยทธศาสตร์
รัฐวิสาหกิจต้องทบทวนบทบาทและภารกิจขององค์กรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาว่าสถานะและบทบาทขององค์กรในปัจจุบันให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ซึ่งการคงบทบาทเดิมหรือการปรับบทบาทของรัฐวิสาหกิจจะต้องสอดคล้องและตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติได้ ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจจะต้องดําเนินงานในบทบาทขององค์กรที่เป็น Operator เท่านั้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : บริหารแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ

1. จัดลําดับความสําคัญและความคุ้มค่าของโครงการให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ และทิศทางตามยุทธศาสตร์
2. มีแหล่งเงินที่เหมาะสมในการลงทุน

แนวทางการดําเนินการตามยุทธศาสตร์
รัฐวิสาหกิจจะต้องกําหนดให้มีการลงทุนที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ และภารกิจขององค์กรที่เหมาะสมกับบริบทปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะต้องมีการจัดลําดับความสําคัญของโครงการลงทุนและการลงทุนทําให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนและจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินต่อรัฐวิสาหกิจในระยะยาว หรือก่อให้เกิดหนี้สาธารณะในอนาคต

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว

1. รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่องให้จัดทําแผนฟื้นฐานะองค์กรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้เพียงพอที่จะดําเนินงานตามภารกิจและการลงทุน
2. สร้างรายได้เพิ่มจากสินทรัพย์หรือธุรกิจต่อยอด

แนวทางการดําเนินการตามยุทธศาสตร์
1. ในกรณีที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จะต้องกําหนดให้มีการจัดทําแผนเพื่อฟื้นฟูฐานะองค์กรและกําหนดระยะเวลาดําเนินการไว้ให้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายให้รัฐวิสหากิจมีความแข็งแกร่งทางการเงิน เพียงพอที่จะดําเนินการตามภารกิจ และการลงทุนตามบทบาทภารกิจที่ได้พิจารณาทบทวนแล้ว
2. ในกรณีที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีกําไรและหารายได้ให้รัฐ ยังคงต้องรักษาสัดส่วนการสร้างรายได้เพิ่ม ซึ่งรวมถึงการบริหารทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และรวมถึงการดําเนินการต่อยอดธุรกิจเดิม โดยไม่ได้อยู่นอกเหนือจากบทบาทภารกิจที่สามารถกระทําได้ และมีศักยภาพในการแข่งขันกับอุตสาหกรรมได้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และแผน DE

แนวทางการดําเนินการตามยุทธศาสตร์
1. ให้รัฐวิสาหกิจจัดทําแผนรองรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลง (Disruptive Technology) รวมถึงการนํา เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมาใช้ประโยชน์ในการผลิตและการบริการทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ
2. รัฐวิสาหกิจมีการพัฒนาระบบการทํางานให้มีประสิทธิภาพ โดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมมาช่วยในการ ปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการประเมินและรายงานผลตามมาตรฐานสากล
4. ให้รัฐวิสหากิจมีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยที่เกี่ยวเนื่องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนอื่นในการพัฒนางานตามบทบาท
5. ให้รัฐวิสาหกิจจัดทําฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และเปิดเผยให้สาธารณะชนได้ใช้ร่วมกัน (Open Data) สนับสนุนระบบสารสนเทศ รวมถึงการวิจัยด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลให้มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม

แนวทางการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์
1. รัฐวิสาหกิจทบทวนระบบการบริหารจัดการและโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจตามหลักเกณฑ์ การบริหารจัดการองค์กรที่ดีและหลักธรรมาภิบาลสากล
2. รัฐวิสาหกิจกํากับดูแลองค์กรและบุคลากร รวมทั้งบริษัทในเครือให้มีการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร และสามารถอธิบายความจําเป็นในการตัดสินใจได้
3. รัฐวิสาหกิจมีระบบการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง และสารสนเทศสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงที่สําคัญ
4. รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกระบวนการให้บริการ การจัดการข้อร้องเรียนจากผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีช่องทางในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์ รวมทั้งนำระบบ ITA มาปรับใช้และมีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอแก่สาธารณะ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะจัดทำฐานข้อมูลกลางของรัฐวิสาหกิจเพื่อกํากับและติดตามการดําเนินการและเผยแพร่แก่สาธารณะ
5. รัฐวิสาหกิจมีการทบทวนปรับปรุงระบบและกระบวนในการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส รัดกุม และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง มีการตรวจสอบติดตามผลและปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจนำระบบที่สนับสนุนความโปร่งใสมาใช้ เช่น Integrity Pact (IP) CoST เป็นต้น
6. รัฐวิสาหกิจมีกระบวนการติดตามประเมินผลการดําเนินงานขององค์กรและกระบวนการบริหารงานบุคคลที่สร้างความผูกพันต่อองค์กรและมีความโปร่งใสและยุติธรรม
7. รัฐวิสาหกิจมีการจัดทำสมรรถนะและความรู้ที่จําเป็น (Skill Matrix) สําหรับคณะกรรมการและผู้บริหารสูงสุดที่สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์
8. รัฐวิสาหกิจมีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในองค์กร รวมทั้งมีกลไกกํากับ ติดตาม และส่งเสริมบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรม
9. รัฐวิสาหกิจสรรหาและพัฒนาบุคลากรในทุกระดับให้มีความรู้และสมรรถนะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการสร้างภาวะผู้นําเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง บริบทสําคัญ (Mega Trend) ของโลก อาทิ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สําหรับทิศทางการดําเนินงานต่อแผนยุทธศาสตร์ของรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561

สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
1. ควรเพิ่มประสิทธิภาพด้นการบริหารจัดการองค์กร
2. ควรเน้นการสร้างภาพลักษณ์ และสร้างความน่าเชื่อถือในการออกรางวัล