ประวัติสำนักงาน
145 ปีการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล

2417
จุดเริ่มต้นลอตเตอรี่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กรมทหารมหาดเล็กออกลอตเตอรี่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา โดยชาวอังกฤษชื่อ ครูอาลบาสเตอร์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการออกลอตเตอรี่ตามแบบยุโรป เพื่อช่วยเหลือพ่อค้าต่างชาติที่นำสินค้ามาร่วมแสดงในการจัดพิพิธภัณฑ์ (โรงมิวเซียม) ที่ตึกคองคาเดียในพระบรมมหาราชวัง (ศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน)

2460
ลอตเตอรี่ของสภารักชาติแห่งประเทศอังกฤษ

ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ออกสลากลอตเตอรี่ของสภารักชาติ ประเทศอังกฤษ จำหน่ายราคาสลากละ 5 บาท โดยมีเงื่อนไขการจ่ายรางวัลเป็นสัญญาเงินกู้ของคณะกู้เงินในการสงคราม โดยสภารักชาติแห่งประเทศอังกฤษ สาขากรุงเทพฯ เป็นผู้ลงนามและประเทศสหพันธรัฐมลายูเป็นผู้ค้ำประกัน

2466
ลอตเตอรี่บำรุงเสือป่าอาสาสมัคร

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพิเศษให้ออก “ลอตเตอรี่เสือป่าล้านบาท” เพื่อหารายได้ซื้อปืนพระราชทานแก่กองเสือป่าและพระราชทานนามปืนรุ่นนี้ว่า “ปืนพระราม 6” ต่อมาปืนพระราม 6 ถูกโอนไปใช้ในราชการของกรมตำรวจ

2476
ลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม

รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าการออกสลากกินแบ่งอยู่ในความนิยมของประชาชน และเป็นการหารายได้เข้ารัฐโดยประชาชนไม่เดือดร้อน จึงได้ออก “ลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม” เพื่อนำรายได้ไปใช้จ่ายในการศึกษาและพยาบาล ขณะเดียวกันรัฐบาลได้ออกลอตเตอรี่เพื่อหาเงินมาชดเชยรัชชูปกรที่ขาดไป โดยให้กรมสรรพากรเป็นผู้รับผิดชอบ

2477
สลากกินแบ่งรัฐบาล

ด้านกระทรวงมหาดไทยเองก็มีนโยบายความประสงค์ที่จะจัดหามาบำรุงกิจการทางเทศบาล โดยคิดใช้วิธีการออกสลากรุ่น “สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล”
ต่อมาปี พ.ศ. 2477 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยออกสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาลโดยกำหนดว่า หากเดือนใดเป็นเดือนที่ออกสลากกินแบ่งรัฐบาล เดือนนั้นให้งดจำหน่ายสลากกินแบ่งของเทศบาล โดย
เริ่มจำหน่ายงวดแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2478
แล้วออกสลากเดือนเมษายน พ.ศ. 2479 โดยพิมพ์จำนวน 500,000 ฉบับ
ฉบับละ 1 บาท และได้มีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากบำรุงเทศบาลเรื่อยมา ซึ่งในปีเดียวกันกับที่กรมสรรพากรและกระทรวงการคลังได้ร่วมดำเนินการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่นั้น( ด้านกระทรวงมหาดไทยเองก็มีนโยบายความประสงค์ที่จะจัดหามาบำรุงกิจการทางเทศบาล โดยคิดใช้วิธีการออกสลากรุ่น
“สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล”)

2482
สถาปนาสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ปี พ.ศ. 2482 ซึ่งถือเป็นยุคที่สลากกินแบ่งรัฐบาลเริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง โดยคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ได้มีมติให้โอนย้ายกิจการสลากกินแบ่งรัฐบาล และสลากบำรุงเทศบาล มาสังกัดกระทรวงการคลัง และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลขึ้น โดยมี พระยาพรหมทัตศรีพิลาส เป็นประธานกรรมการ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2482 ในวันดังกล่าวจึงถือเป็น วันสถาปนาสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จนปัจจุบัน

2494
กองการพิมพ์สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ได้จัดตั้งกองการพิมพ์ขึ้นริมถนนจักรพงษ์ เพื่อพิมพ์สลากเอง โดยสั่งซื้อแท่นพิมพ์ นิวอีร่า จากประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 2 เครื่อง เครื่องถ่ายภาพแยกสีอัตโนมัติ 1 เครื่อง และเครื่องจักรเครื่องพิมพ์แยกสีอื่นๆ อีก ติดตั้งเครื่องจักรเสร็จสมบูรณ์ เมื่อต้นปี 2495 เริ่มพิมพ์สลากครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2495 เป็นสลากงวดประจำวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2495

2499
ที่ทำการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแห่งแรก

เปิดอาคารที่ทำการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ณ ถนนราชดำเนินกลาง

2507
ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

กระทรวงการคลังได้กำหนดข้อบังคับว่าด้วยการบริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลถือปฏิบัติ และปรับปรุงแก้ไขระเบียบให้มีสลากจำหน่ายทั่วทุกจังหวัดมากน้อยตามเกณฑ์ของจำนวนประชากร

2517
พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ดำเนินการภายใต้ “พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517” ที่กำหนดให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลลักษณะรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังและมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน บังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน

2521
โรงพิมพ์เอกมัย

ภายหลังจากกิจการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 รัฐสภาจึงมีการออก พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 ที่ระบุวัตถุประสงค์การจัดตั้งสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลประการหนึ่งคือ “การจัดการโรงพิมพ์อันเป็นอุปกรณ์ในการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือพิมพ์สิ่งพิมพ์อื่นที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ” ทำให้ในปี พ.ศ. 2520 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงดำเนินการก่อสร้างโรงพิมพ์ขึ้นใหม่ ที่ซอยแยกซอยเอกมัย ถนนสุขุมวิท 63 โดยมี พ.ต. ปุณมี ปุณศรี ผู้อำนวยการของสำนักงานฯ ในขณะนั้น เป็นประธานพิธีในการวางศิลาฤกษ์กาสร้างโรงพิมพ์เอกมัยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2520

2530
โรงพิมพ์เอกมัย

ภายหลังจากกิจการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 รัฐสภาจึงมีการออก พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 ที่ระบุวัตถุประสงค์การจัดตั้งสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลประการหนึ่งคือ “การจัดการโรงพิมพ์อันเป็นอุปกรณ์ในการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือพิมพ์สิ่งพิมพ์อื่นที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ” ทำให้ในปี พ.ศ. 2520 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงดำเนินการก่อสร้างโรงพิมพ์ขึ้นใหม่ ที่ซอยแยกซอยเอกมัย ถนนสุขุมวิท 63 โดยมี พ.ต. ปุณมี ปุณศรี ผู้อำนวยการของสำนักงานฯ ในขณะนั้น เป็นประธานพิธีในการวางศิลาฤกษ์กาสร้างโรงพิมพ์เอกมัยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2520

2531-2540
ปรับปรุงการออกรางวัล

ปรับปรุงการออกรางวัลจาก 7 หลักเป็น 6 หลัก และปรับราคาจำหน่ายจากฉบับละ 20 บาทเป็นฉบับละ 40 บาท รวมทั้งมีการออกสลากบำรุงการกุศลให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลอนุมัติด้วย

2546-2549
รางวัลเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว

ออกรางวัลแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว เพื่อแก้ปัญหาหวยใต้ดินและปัญหาการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา เริ่มจำหน่ายงวดแรก 1 สิงหาคม – 16 พฤศจิกายน 2549 รวม 80 งวด

2560-ปัจจุบัน
ปรับปรุงรูปแบบและขนาดของสลาก

ปรับปรุงรูปแบบและขนาดของสลากโดยตั้งแต่งวดวันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นมา สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้ปรับปรุงรูปแบบสลากฯ ใหม่ จากเดิมคู่ละ 80 บาท (ฉบับละ 40 บาท) เป็นรูปแบบใบเดียวฉบับละ 80 บาท เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน และป้องกันความสับสนสามารถตรวจสอบได้ง่าย โดยยังคงเงินรางวัลไว้เช่นเดิม